คลินิกเทคโนโลยี  ทีพึ่งของชุมชน  ผลงานวิจัยและพัฒนา (องค์ความรู้ เทคนิค เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ สิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์)มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือการที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม จากการที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ไม่มีหน่วยงานในภูมิภาค ทำให้ขาดกลไกในส่วนภูมิภาคที่เชื่อมโยงการวิจัยและพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ และมีการแพร่กระจายเทคโนโลยีสู่ชุมชนท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เมื่อเดือนมกราคม 2546 กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯและสถาบันการศึกษา จึงได้ลงนามความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยี “คลินิกเทคโนโลยี” ในครั้งแรกจำนวน 18 เครือข่าย และมีการลงนามอีกจำนวน 3 ครั้ง จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2552 มีจำนวน 42 เครือข่าย (ไม่รวมหน่วยงานในสังกัด วท.)

         ต่อมา เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2552 กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีการลงนามความร่วมมือ “การพัฒนาจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” กับกระทรวงมหาดไทย ในบันทึกความร่วมมือดังกล่าว ให้มีการแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารวิทยาศาสตร์จังหวัดระดับสูง (Provincial Chief Science Officer : PCSO) และมอบหมายให้สถาบันการศึกษาที่เป็นคลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ สนับสนุนงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารวิทยาศาสตร์จังหวัดระดับสูง อีกบทบาทหนึ่งด้วย การที่มีการเพิ่มบทบาทดังกล่าว จึงได้มีการลงนามความร่วมมือการถ่ายทอดเทคโนโลยี “คลินิกเทคโนโลยี” ฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2552 ปัจจุบัน (ณ เดือนกรกฎาคม 2555) มีคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายที่ร่วมดำเนินงาน 70 เครือข่าย เป็นเครือข่ายจากหน่วยงานภายนอก จำนวน 55 เครือข่าย และหน่วยงานภายในสังกัด วท. จำนวน 15 เครือข่าย ครอบคลุมพื้นที่ 67 จังหวัด

 

 


คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  ฝายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
โทร.0 53 873863  Mail :  pimonsiri_s@mju.ac.th

 


ปรับปรุงข้อมูล 1/4/2558 11:26:25
, จำนวนการเข้าดู 254