สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จัดประชุมวิชาการและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 3 (The 3 rd Conference on Research and Creative Innovations: CRCI 2016) ระหว่างวันที่ 15 -16 กันยายน 2559 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 56 พรรษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

วัตถุประสงค์ของการประชุม
1.เพื่อเป็นเวทีเผยแพร่และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และผลงานสร้างสรรค์ อันจะนำไปสู่การต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาการและการนำไปใช้ประโยชน์
2.เพื่อพัฒนาเครือข่าย ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างอาจารย์และนักวิจัย จากสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาคชุมชน ท้องถิ่น

กิจกรรมการจัดประชุม
1.การเสวนาวิชาการ
2.การนำเสนอผลงานทางวิชาการ (ภาคบรรยาย / ภาคโปสเตอร์)
            - ด้านวิศวกรรม พลังงาน และเทคโนโลยี
            - ด้านบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์
            - ด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและสุขภาพ
            - ด้านเทคโนโลยีเกษตรและอาหาร
            - ด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์
            -  ด้านงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อชุมชน สังคม ศาสนา และหน่วยงาน
3.การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และผลงานสร้างสรรค์
4.การจัดบูธนิทรรศการ

ขอบข่ายของผลงาน
            - กลุ่มวิศวกรรมและเทคโนโลยี
            - กลุ่มบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์
            - กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพและสุขภาพ
            - กลุ่มเทคโนโลยีเกษตรและอาหาร
            - กลุ่มศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์
            - กลุ่มงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อสังคม ชุมชน ศาสนา และหน่วยงาน

รูปแบบการนำเสนอผลงานวิจัย
1.การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย (Oral Presentation
            1.1นำเสนอด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint
            1.2 เวลาในการนำเสนอเรื่องละไม่เกิน 15 นาที และตอบข้อซักถาม 5 นาที
2.การนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation)
           
2.1 โปสเตอร์ขนาด กว้าง 80 ซม. x สูง 120 ซม.
            2.2 เนื้อหาที่นำเสนอในโปสเตอร์
                        - ชื่อเรื่อง ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ (ตามผลงานที่นำเสนอ)
                       
- ชื่อผู้ทำวิจัย และหน่วยงานสังกัด
                       
- บทคัดย่อ สรุปสาระสำคัญเฉพาะที่ใช้เป็นภาษารัดกุมเป็นประโยคสมบูรณ์ และเป็นร้อยแล้ว โดยไม่แบ่งเป็นข้อๆ
                       
- บทนำ (ความเป็นมาและวัตถุประสงค์การวิจัย)
                        - อุปกรณ์ (ถ้ามี) / วิธีการ (ตามความเหมาะสม)
                       
- ผลการวิจัย และอภิปรายผล
                       
- สรุปผลการวิจัย
                        - เอกสารอ้างอิง เลือกเฉพาะที่เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้น
           
2.3 การติดตั้งโปสเตอร์ สามารถติดตั้งด้วยตนเอง ในวันที่ 14 กันยายน 2559
           
2.4 การแสดงโปสเตอร์ต้องจัดแสดงไว้ตลอดทั้ง 2 วัน (วันที่ 15 – 16 กันยายน 2559)
           
2.5 ผู้นำเสนอยืนประจำโปสเตอร์เพื่อนำเสนอผลงานและตอบคำถาม โดยจะมีผู้ทรงคุณวุฒิเยี่ยมชมและมอบเกียรติบัตร

3.การประกวดสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมและผลงานสร้างสรรค์
           
3.1 มีพื้นที่ขนาด 2 x2 เมตรา
           
3.2 มีป้ายชื่อผลงาน (มทร.ล้านนา ออกแบบและติดตั้งให้)
           
3.3 มีโต๊ะ ขนาด 80 x120 ซมให้จัดวางผลงาน 1 ตัว

หมายเหตุการตกแต่งความสวยงามขึ้นอยู่กับแต่ละผลงาน ให้ผู้นำเสนอจัดเตรียมมาเอง

ขอเชิญผู้สนใจส่งผลงานวิจัยเข้า่ร่วมประชุมวิชาการ สามารถส่งผลงานมาได้ที่ ฝ่ายยุทธศาสตร์และประสานงานวิจัย สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชั้น3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
โทร.0-5387-3856
ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 25 กรกฎาคม 2559
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://w3conference.org

ภาพจาก : สถาบันและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ปรับปรุงข้อมูล : 18/7/2559 23:03:51     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 484

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

เสวนาเพื่อพัฒนาข้อเสนอการวิจัยเพื่อจัดส่งหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนา บพค.
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 สำนักวิจัยฯ จัดการเสวนาเพื่อพัฒนาข้อเสนอการวิจัยเพื่อจัดส่งหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนา กำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งภายในงานมีการเสวนา พัฒนาโจทย์วิจัย ภายใต้กรอบการพัฒนา หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนา กำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม เป็นวิทยากร ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
26 เมษายน 2567     |      0
โครงการเสวนาความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณแผนงานและโครงการ ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน ของนักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 สำนักวิจัยฯ จัดโครงการเสวนาความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณแผนงานและโครงการ ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน ของนักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งในโครงการ มีการชี้แจงวัตถุประสงค์ในการเสวนาความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณแผนงานและโครงการ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อรทัย มิ่งธิพล รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายวิจัย การรายงานผลการดำเนินงานผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบของแผนงานและโครงการสนับสนุนงานมูลฐาน ต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) โดย นายสมยศ มีสุข หัวหน้างานบริหารและส่งเสริมการวิจัย นางจิรนันท์ เสนานาญ รักษาการแทนผู้อำนวยการกองบริหารงานวิจัย และนายภาณุลักษณ์ ศรีรินทร์ หัวหน้างานสารสนเทศและเผยแพร่งานวิจัย ร่วมหารือความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของแผนงาน/โครงการ และแนวทางแก้ไข ณ ห้องประชุม 301 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
26 เมษายน 2567     |      0
พิธีลงนามความร่วมมือ ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ USDA Regional Agriculture Innovation Network (RAIN) ส่งเสริมนวัตกรรมการเกษตร รับมือผลกระทบวิกฤตสภาพอากาศ เพื่อยกระดับภาคการเกษตรและเครือข่าย
วันที่ 19 มีนาคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และองค์การวินร็อค อินเตอร์เนชั่นแนล (Winrock International) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ USDA Thailand Regional Agriculture Innovation Network (RAIN) ซึ่งเป็นเครือข่ายผลักดันนวัตกรรมด้านการเกษตรในระดับภูมิภาคที่ได้รับการสนับสนุนการเงินจากโครงการ Food for Progress ภายใต้การบริหารของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) มุ่งสร้างความร่วมมือตรวจสอบนวัตกรรมการเกษตรที่มีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา และขยายผลส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ในวงกว้าง เพื่อรับมือกับผลกระทบที่มาจากวิกฤตสภาพอากาศ....รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับและขอบคุณผู้มาร่วมงาน และคุณลิสา เอ.บูเจนนาส กงสุลใหญ่อเมริกา ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกียรติกล่าวแสดงความยินดีต่อการลงนามบันทึกข้อตกลง โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคุณวิลเลี่ยม สปาร์คส์ ผู้อำนวยการโครงการ RAIN เป็นผู้แทนลงนามทั้งสองฝ่าย ณ ห้องประชุมสภา ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่....การลงนามในบันทึกข้อตกลงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกันของทั้งสองหน่วยงานในการตรวจสอบ นวัตกรรมภาคเกษตรกรรมที่ช่วยให้รับมือกับผลกระทบวิกฤตสภาพอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ มีแนวทางของการสร้างความยั่งยืน และการขยายตลาด ตลอดจนขยายผลสนับสนุนให้เกษตรกรไทยใช้นวัตกรรมดังกล่าวในวงกว้าง RAIN จะใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมที่โดดเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เช่นการใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว องค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการผลิตลำไย ฟาร์มต้นแบบสวนลำไยอินทรีย์อัจฉริยะ การจัดการฟาร์มอย่างชาญฉลาด และการจัดการระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาพ ร่วมกันพัฒนาต่อยอดและขยายผลให้เกิดประโยชน์ต่อเครือข่ายนวัตกรรมด้านการเกษตรทั้งในและต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
26 เมษายน 2567     |      1