สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

งานประกวดฟ้อนเล็บ ครั้งที่ 3 วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2556 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ณ ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์

Smileดาวโหลดกำหนดการ,กติกา,ใบสมัคร


กำหนดการแข่งขันประกวดฟ้อนเล็บล้านนาไทยครั้งที่ 3
 

วันอาทิตย์ที่  21  เมษายน  2556 

ณ ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่ 

--------------------------------------------- 

 

เวลา  17.00  น.          ลงทะเบียน

เวลา  18.00  น.          พิธีเปิดการแข่งขันประกวดฟ้อนเล็บล้านนาไทย ครั้งที่ 3

                             กล่าวรายงานโดย...รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ   ข้ามสี่

                                                                 ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

                             กล่าวเปิดงานโดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร  ยศราช

                                                    อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้

เวลา  18.30  น.          ดำเนินการแข่งขันประกวดฟ้อนเล็บ 

เวลา  21.30  น.          พิธีมอบรางวัล โดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร  ยศราช

                                                    อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

กติกาการประกวดฟ้อนเล็บล้านนาไทย ครั้งที่ 3

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2556  เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป 

ณ  ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่

๑.          ลักษณะการประกวด 

ประกวดฟ้อนเล็บให้ประกวดเป็นคณะ ผู้เข้าประกวดต้องเป็นเพศหญิง จำนวน ๘-12 คน

โดยจะรับสมัครเพียงจำนวน 10 ทีมเท่านั้น

๒.         วิธีการประกวด 

2.1)  การแต่งกายของผู้เข้าประกวด

-  เสื้อ                ใช้เสื้อแขนกระบอก คอกลม หรือคอจีน หรือคอยะวาผ่าอกตลอด

-   ผ้านุ่ง             ใช้ผ้าซิ่นตีนต่อลายขวาง หรือตีนดำ หรือตีนลวด หรือตีนจกแบบมีเชิง หรือผ้าทอยกดอกแบบมีเชิงในตัว (ไม่อนุญาตให้นุ่งผ้าถุงสำเร็จ)

-   ผ้าสไบ           ใช้ผ้าสไบสีพื้น ไม่มีลวดลาย เช่น ผ้าแพรเยื่อไม้ ผ้าต่วน หรือผ้าสไบฟ้อนเมือง ถ้าใช้สไบโปร่งทองต้องนุ่งผ้าซิ่นทอยกดอกมีเชิง (ไม่อนุญาตให้ใช้สไบโปร่งเงิน)

-   ทรงผม           เกล้ามวยผมแบบญี่ปุ่น หรือเกล้ามวยผมแบบพื้นเมืองเหนือ(เกล้าเรียบร้อย หรือชักหงีบ)

-   ดอกไม้           ดอกไม้ประดับมวยผมใช้ดอกกล้วยไม้ (เอื้องผึ้ง เอื้องหลวง) ของสด หรือของเทียม หรือดอกไม้ไหวทอง ไม่อนุญาตให้ใช้ดอกไม้ไหวเงิน)จะมีพวงอุบะก็ได้ แต่ต้องไม่ยาวเกินคางหรือต้นคอ

-   เล็บ               ผู้ฟ้อนทุกคนต้องสวมเล็บมือ

2.2)  ท่าฟ้อน 

          ใช้ท่าฟ้อนเล็บแบบพื้นเมือง เช่น ท่าไหว้ ท่าบิดบัวบาน ท่ายอน ท่าสะบัดจีบ ท่าเชื่อมต่างๆ

2.3)    ระยะเวลาการประกวด 

         ผู้ฟ้อนของแต่ละคณะ จะใช้ท่าฟ้อนแสดงลีลาการฟ้อนต่างๆ เช่น วงกลม ตั้งแถว ฯลฯ      แต่ต้องไม่มีแบบประยุกต์ เช่น ต่อตัว ออกมังกรล่อแก้ว ฯลฯ ใช้เวลาประมาณ 8-10 นาที

2.4)    ดนตรีประกอบ 

          ให้ทางคณะผู้เข้าประกวดจัดเตรียมเพลงลงแผ่นซีดีมาเอง

2.5)    ผู้เข้าร่วมประกวด 

          ผู้เข้าประกวดแต่ละคณะ ต้องไม่ซ้ำกัน

2.6)   คณะกรรมการจัดการประกวด 

                        คณะกรรมการ จะจัดคณะในการฟ้อนประกวด เรียงตามลำดับการมารายงานตัวของ       แต่ละคณะในวันทำการประกวด

2.7)    ผู้เข้าร่วมประกวด 

                        ผู้เข้าประกวดต้องมารายงานตัวต่อคณะกรรมการจัดการประกวด ในวันทำการประกวด    ในวันอาทิตย์ที่  21  เมษายน 2556  เวลา 17.00-18.00 น.

2.8)    การสนับสนุนทีมผู้เข้าประกวด 

          คณะกรรมการการจัดประกวด สนับสนุนให้คณะที่เข้าร่วมประกวด คณะละ 1,000 บาท

๓.          เกณฑ์การตัดสิน (ถือมติคณะกรรมการการตัดสินเป็นที่สิ้นสุด) โดยพิจารณาจากเกณฑ์ดังนี้ 

  1. ความพร้อมของแต่ละคณะ
  2. จังหวะการฟ้อน
  3. ลีลาท่าฟ้อน
  4. มารยาทของผู้ฟ้อน
  5. การแต่งกาย
  6. การตรงต่อเวลา

๔.          รางวัลการประกวด 

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1    จำนวน  1  รางวัล           7,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

รางวัลชนะเลิศอันดับ 2    จำนวน  1  รางวัล           5,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

รางวัลชนะเลิศอันดับ 3    จำนวน  1  รางวัล           3,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

รางวัลชมเชย                 จำนวน  2  รางวัลๆ ละ    1,500 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

๕.          กำหนดการรับสมัคร   ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันพุธที่ 17 เมษายน 2556  

ก่อนเวลา 12.00 น. 

๖.          สถานที่รับสมัคร        

นายณัฐวุฒิ  เครือฟู                    

ฝ่ายยุทธศาสตร์และประสานงานวิจัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

โทร 0-5387-5114, 081-9936621

Fax 0-5387-5118

Email: researchmju@mju.ac.th

Email: raemju@gmail.com

 

ชมภาพการประกวดฟ้อนเล็บล้านนาไทย ครั้งที่๒ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๕๕ <<< คลิ๊ก...

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 38341

กลุ่มข่าวสาร : อื่นๆ

ข่าวล่าสุด

บรรยายให้ความรู้คณะศึกษาดูงานจากเทศบาลตำบลพนมทวน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
วันที่ 4 เมษายน 2567 เวลา 13.30-16.30 น. สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร โดย ว่าที่ร้อยตรี สมบูรณ์ ระดม ผู้จัดการศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้คณะศึกษาดูงานจากเทศบาลตำบลพนมทวน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 76 คน ถ่ายทอดความรู้หลักสูตร “การทำเกษตรแบบธรรมชาติ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง” โดยการนำวัสถุท้องถิ่นมาใช้ในการทำการเกษตร เน้นการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้กระบวนการผลิต การปลูกพืชผัก การเลี้ยงสัตว์ และการดูแลสิ่งแวดล้อม เยี่ยมชมฟาร์มหมูหลุมและไก่ไข่อารมณ์ดี พร้อมน้อมนำแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในฟาร์ม ณ ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
26 เมษายน 2567     |      15
ต้อนรับคณะศึกษาดูงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา (รุ่นที่ 3)
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร โดย นายนิคม สุทธา นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้คณะศึกษาดูงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา (รุ่นที่ 3) พร้อมถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 และ อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร บรรยายให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง การทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
26 เมษายน 2567     |      22
เสวนาเพื่อพัฒนาข้อเสนอการวิจัยเพื่อจัดส่งหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนา บพค.
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 สำนักวิจัยฯ จัดการเสวนาเพื่อพัฒนาข้อเสนอการวิจัยเพื่อจัดส่งหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนา กำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งภายในงานมีการเสวนา พัฒนาโจทย์วิจัย ภายใต้กรอบการพัฒนา หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนา กำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม เป็นวิทยากร ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
26 เมษายน 2567     |      23
โครงการเสวนาความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณแผนงานและโครงการ ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน ของนักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 สำนักวิจัยฯ จัดโครงการเสวนาความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณแผนงานและโครงการ ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน ของนักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งในโครงการ มีการชี้แจงวัตถุประสงค์ในการเสวนาความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณแผนงานและโครงการ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อรทัย มิ่งธิพล รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายวิจัย การรายงานผลการดำเนินงานผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบของแผนงานและโครงการสนับสนุนงานมูลฐาน ต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) โดย นายสมยศ มีสุข หัวหน้างานบริหารและส่งเสริมการวิจัย นางจิรนันท์ เสนานาญ รักษาการแทนผู้อำนวยการกองบริหารงานวิจัย และนายภาณุลักษณ์ ศรีรินทร์ หัวหน้างานสารสนเทศและเผยแพร่งานวิจัย ร่วมหารือความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของแผนงาน/โครงการ และแนวทางแก้ไข ณ ห้องประชุม 301 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
26 เมษายน 2567     |      7